…
ขั้นตอน และวิธีการเซ็ทเฮลิคอปเตอร์เบื้องต้น
เนี่องจากในขณะ นี้เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนได้หันมาเล่น ฮ 6 Ch กันมากขึ้นแต่มีปัญหาในการ Setup เพราะส่วนมากก้าวขึ้นมาจาก 4 Ch ซึ่งระบบ Head เป็นแบบ Fixed pitchประกอบกับเดี๋ยวนี้ ฮ 6 Ch ส่วนใหญ่จะเป็นระบบ e-CCPM ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่เข้าใจระบบการทำงานจะเกิดความสับสนใ นการตั้งค่าต่าง ๆ ในวิทยุทำให้ไม่สามารถ Setup ด้วยตัวเองได้ ผมจึงได้ตั้งกระทู้นี้ขึ้นเพื่อให้เพื่อน ๆ ที่ไม่สามารถหาผู้รู้ Setup ให้ได้ สามารถทำการ Setup ในเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยเขียนจากประสบการณ์ของผมเองครับไม่อ้างอิงวิชาการ หรือเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้น ฮ่า
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบ CCPM ชุด Head นั้นใช้ Servoจำนวน 3 ตัวในการควบคุมการทำงาน ซึ่ง Servo ทั้ง 3 ตัวนี้ในตอนเราโยกสติ๊กทั้ง คันเร่ง(Throttle (T)) , เอียงซ้าย-ขวา(Aileron (A)) หรือ กระดกหน้าและหลัง (Elevator (E))Servo ทั้ง 3 ตัวต้องเลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และสัมพันธ์กันทั้งหมด ถ้าตัวใดทำงานไม่ถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถควบคุม ฮ ให้ไปในทิศทางที่เราต้องการได้นะครับ
ฮ ระบบ CCPM ที่มีขายในบ้านเราจะมีการวางตำแหน่ง Servo ทั้ง 3 ตัวอยู่ 2 ประเภทคือ (เมื่อมองจากหัวฮ.เข้าไป)
1.วาง Servo อยู่ข้างหน้า 1 ตัวและข้างหลัง 2 ตัววางคู่กัน
2.วาง Servo ข้างหน้าคู่กัน 2 ตัว และข้างหลัง 1 ตัว
ซึ่งทั้ง2อย่างนึ้ผมใช้หลักการเดียวกัน คือ
– Servo ที่วางอยู่ตัวเดียว ให้เสียบเข้าช่อง Elev(วิทยุ Futaba จะเป็นช่อง 2) ของReceive
– Servo ที่วางอยู่คู่กัน ตัวนึงเสียบช่อง Aile(วิทยุ Futaba จะเป็นช่อง 1) ส่วนอีกตัวเสียบที่ช่อง Pitch(วิทยุ Futaba จะเป็นช่อง 6) ตัวทีวางคู่กันอยู่นี้สามารถเสียบสลับช่องกันได้เมื่ อติดตั้ง Servo และเสียบสายเรียบร้อยแล้วก็มา Set ที่วิทยุกันละ
1. วิทยุต้อง Set ที่ SWSH เป็น 3S
2. Trim ทั้งหมดอยู่ที่กึ่งกลาง , ถ้าวิทยุมี Subtrim ตั้ง Subtrim ให้เป็น 0
3. ถอดขั้วมอเตอร์ออก เสียบถ่านที่ Receive
ถ้า Set ในส่วนนี้ถูกต้องแล้ว ลองสังเกตุดูครับ เมื่อโยกคันเร่งขึ้นServo ทั้ง 3 ตัวต้องทำการเลื่อนแขน Link ที่ Sw plate ขึ้นพร้อม ๆ กันเหมือนกับเราใช้ตะเกียบ 3 แท่งวางไว้ใต้จานข้าว แล้วยกตะเกียบขึ้นพร้อม ๆ กันครับ และ เมื่อลดคันเร่งลง Servo ทั้ง 3 ตัวต้องทำการดึง
Sw plate ลงพร้อม ๆ กัน เช่นกัน เมื่อได้ดังนี้แล้วแสดงว่าในส่วนของการยก Pitch ทำงานได้ถูกต้องแล้วครับ
A +50
E +50
P +50
ให้ไป Set ที่ E +50 ให้เป็น E -50 ครับ เมื่อ Set แล้วควรจะทำงานถูกทิศทางแล้วล่ะครับ
ต่อ ไปให้ลองโยกสติ๊กทางขวามือ(Aileron) ไปทาง ซ้าย – ขวา ดูครับ Sw plate ต้องโยกซ้าย – ขวาตามมือเรา (ถ้ามองจากหางขึ้นไปนะครับ) ถ้าโยกสวนทางกัน ก็ให้ไป Set ที่ A +50 ให้ เป็น A -50 ครับ แต่มันถูกทางอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันครับ
เมื่อเสร็จหมดทุก ขั้นตอนดังที่ผมกล่าวมาแล้วก็ให้ทดส อบอีกทีโดยโยกสติ๊กที่Throttle,Elevator และ Aileron ดูครับ Sw plate ควรจะขยับ เลื่อนไปมาอย่างถูกต้องตามที่เราบังคับแล้วครับ
คราวนี้ ก็เหลือแต่ การตั้ง Ptich แล้วครับ แล้วผมจะมาเขียนบอกอีกทีนะครับ ตอนนี้นิ้วชี้ผม
หงิกหมดแล้ว ไอ้ผมมันพิมพ์ประเภทเดี่ยวเดนตาย(นิ้วเดียว จิ้ม ๆๆๆ) เสียด้วย ^^
ง่า……… หลังจาก Set ได้ตามขั้นแรกแล้วนะครับ คราวนี้ก็มาถึงการตั้ง Ptich กันนะครับ ก่อนอื่นอย่าลืมถอดสาย มอเตอร์ออกก่อนนะครับ
1. Trim และ Sub trim ต้องอยู่ตรงกลางหมด
2. ตั้ง P-Cuve เป็น 0 – 25 – 50 -75 -100
3. เสียบไฟเข้า Receive เลื่อนสติ๊กคันเร่งมาอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลาง(ถ้าจุดค ันเร่งต่ำสุดคือ 0 และสูงสุดคือ 100 ให้เร่งอยู่ที่ประมาณ ตำแหน่ง 50)
4. ดูที่ Servo ยก Pitch ทั้ง 3 ตัวแขนของ Servo แต่ละตัวต้องตั้งฉาก หรือใกล้เคียงที่ตำแหน่ง 90 องศา กับตัว Servo มากที่สุด(เพราะเวลา Servo ทำงาน ควรจะเลื่อนไปทั้งทางซ้าย และขวา จากตำแหน่งตรงกลาง ด้วยระยะทางที่เท่ากัน) ตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าตั้งระยะที่จุดนี้เพี้ยนไปมาก เวลาโยกคันเร่งขึ้น – ลง Sw plate จะเลื่อนไม่เท่ากันทำให้ ฮ ไม่เสถียร)
ถ้าใส่แขน Servo แล้วยังไม่ตั้งฉาก ให้ปรับ Sub Trim ช่วยให้ตั้งฉากที่สุดถ้าวิทยุไม่มี Sub Trim ก็ ตั้งให้ได้ไกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ต้อง ขนานกับพื้น เหมือนกับจานข้าววางอยู่บนพื้น ไม่เอียงไปข้างหนึ่งข้างใดถ้าข้างใดไม่เท่าก็ให้ขัน Link ของข้างนั้นให้เท่ากับข้าง อื่น ๆ
ที่เลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ อยู่ถัดจาก Sw plate ขึ้นไปนั่นแหละครับ แขนสองแขนนั้นต้องขนานกับพื้นด้วยครับ
เมื่อทำทั้ง 9 ข้อเรียบร้อยแล้วก็ถือว่าการตั้งสำหรับพื้นฐานเสร็จเ รียบร้อยแล้วครับStep ต่อไปก็คือการตั้งค่าให้เหมาะสมของการเล่นแต่ละคนครั บว่าต้องการอย่างไรซึ่งมือใหม่ทั่วไปจะตั้งค่าไว้สำห รับการ Hovering ธรรมดาครับ
ขั้นตอนที่เหลือเป็นการปรับตั้งที่วิทยุอย่างเดียวแล ้วครับ เพราะเราได้เซ็ตแมคคานิก
รองรับไว้หมดแล้ว
1. Throttle – Curve
2. Pitch – Curve
1. Throttle – Curve สำหรับฮ๊อป ธรรมดา ก็ประมาณ 0 – 40 -65 – 80 – 100 ครับ
2. Pitch – Curve ประมาณ 45 – 55 – 65 – 80 – 100 ครับ
ซึ่ง ตรงนี้แล้วแต่สูตรใครสูตรมันครับ ลองปรับแต่งกันตามใจชอบครับ มันจะมีผลในกาตอบสนองของ ฮ ในตอนเราเร่งคันเร่งนะครับ ลองปรับแต่งให้ได้อาการที่พอใจ และในเวลา Test ต้องคอยจับ Speed , Motor , ถ่านดูด้วยนะครับ ว่ามันร้อนเกินไปหรือเปล่า ถ้า ทั้ง 2 อย่างสัมพันธ์กัน Speed หรือ Motorจะแค่อุ่น ๆ ครับ (ถ้า Speed และ Motor เหมาะสมกับ Spec ของ ฮ นั้น ๆ นะครับถ้าไม่เหมาะ หรือ Load เกินไป Set ยังไง ก็ร้อนครับ)
ถ้าอยากเล่น 3 D ก็ตั้ง T – Curve เป็น 100 – 90 – 80 – 90 – 100
P – Curve เป็น 0 – 25 – 50 – 75 – 100 อะไรประมาณเนี้ย เลยครับ
มา เพิ่มเติมเรื่องการตั้ง ค่า THและ PI ครับ ปรกติวิทยุมาตรฐานที่เราใช้เอาเป็น 6EXH เป็นพื้นแล้วกันโดยทั่วๆไปเราจะเซ็ตตำแหน่งดังนี้
Normal: สำหรับการฮอบและเดินทางทั่วไปค่า THและ PI ก็ตามที่คุณ Nutto บอกครับ
1. Throttle – Curve สำหรับ ฮ๊อป ธรรมดา ก็ประมาณ 0 40 65 80 100 ครับ
2. Pitch – Curve มุมพิท -3 0 +5 +7 +10
Idle 2 : ส่วนใหญ่จะเซ็ตที่สำหรับ 3D ค่า TH และ PI ก็ตามที่คุณ Nutto บอก
1. T – Curve เป็น 100 90 80 90 100
2. P – Curve มุมเป็น -10 -5 0 +5 +10
Idle 3: ให้ตั้งเป็น TH เป็น 0 ทั้งหมด ไว้ใช้สัมพันธ์กับ ตำแหน่ง Th Hold
ค่า PI ก็ตั้งตาม ตำแหน่ง Normal ก็ได้ (ตำแหน่งนี้ สำหรับฮอน้ำมันค่า PI จะตั้งเพื่อใช้ทำ Auto Rotation ได้ด้วย)
ส่วนที่ Idle 1 นั้น ถ้าเพิ่งหัดบินก็ตั้งค่าตาม ตำแหน่ง Normal
แต่ถ้าบินเดินทางคล่องแล้ว ให้ตั้งตามนี้ครับ
1.. Throttle – Curve 70 40 65 80 100 ครับ ถ้าดูกร๊าฟในคู่มือวิทยุบางรุ่น จะคล้ายเครื่องหมาย กา ถูก (ที่คุณครูขีดถูกเวลาตรวจการบ้านนะครับ)
2. Pitch – Curve มุมพิท -4 -2 +5 +7 +10 ครับ
จะทำให้เราบินสนุกขึ้น ควบคุมได้ดังใจโดยเฉพาะวันที่ลมแรงๆ
ลองดูครับ
การตั้งค่า Speed ของ Align
ตอนแรกเราต้องกำหนดไว้ก่อนว่าเราจะตั้งค่า Speed ของเราเป็นเท่าไร? จากรูปตัวอย่าง Speed รุ่นนี้สามารถตั้งค่าได้ 3 ค่า คือ
1. ค่า Break ของมอเตอร์
2. ค่า Electronic timing
3. ค่า Bettery Protection
โดย แต่ละค่าก็สามารถตั้งความละเอียดแบ่งได้เป็นได้ 3 ระดับ
เช่น ค่าแรกการตั้ง Break status สามารถตั้งค่าได้คือ
1. Break เป็น No (ที่เห็นเป็นตัวโน๊ตตัวเดียว)
2. Break เป็น Soft ( ที่เห็นเป็นตัวโน๊ต 2 ตัว)
3. Break เป็น Hard (ที่เห็นเป็นตัวโน๊ต 3 ต้ว)
การ ตั้งค่านั้นจะให้ Stick คันเร่งที่วิทยุเป็นตัวตั้งค่า โดยถ้าเราต้องการตั้งค่า Break เป็น No Stick คันเร่งต้องอยู่ตำแหน่งต่ำสุด ถ้าต้องการตั้งให้เป็น Soft Sitck ต้องอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง แต่ถ้าต้องการตั้งค่าเป็น Hard Stick ต้องอยู่ตำแหน่งสูงสุดหรือเร่งสุดนั่นเอง
1. ค่า Break = No
2. ค่า Electronic timing = Mid timing
3. ค่า Bettery Protection = 60%
1. จากรูป การ Setup ผมขออธิบายตามตัวเลขเลยนะครับ จะได้ดูรูปตามไปด้วย อ้อ! เพื่อความชัวร์ ควรตั้ง Throttle curve ที่วิทยุไว้ที่ 0 – 25 – 50 – 75 – 100 ก่อนด้วยนะครับ เวลาเราตั้งค่า มันจะได้ไม่อ่านค่าตำแหน่งของ Stick ผิดพลาดครับ จดค่าเดิมไว้ก่อนก็ได้ครับ พอตั้งเสร็จแล้วค่อยใส่ค่าเดิมกลับไปครับ Ok. เริ่ม…..
1. เปิดวิทยุ แล้วโยกคันเร่งไว้ที่ตำแหน่งสูงสุด
2. เสียบแบตเข้าที่ Receive ที่ตัว ฮ (ไม่ต้องถอดสายมอเตอร์ออกนะครับ ไม่ต้องกลัวมอเตอร์มันทำงานหรอกครับ เพราะถ้าเราเร่ง สติ๊กคันเร่งไว้ที่ตำแหน่งสูงสุดก่อน แล้วค่อยเสียบแบตที่ Receive ทีหลังมันจะเข้าสู่ Setup mode ครับ ถ้าเราถอดสายมอเตอร์ออกจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยครับ)
– เมื่อเสียบ Batt แล้วเราจะได้ยินเสียง สปีดทำงานครับ มันจะได้ยินเสียงที่แตกต่างกันครับ ผมจำไม่ได้เหมือนกันว่าเสียงมันดังอย่างไร ลองฟังดูครับ สมมุติว่าพอเสียบไปมันดัง ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด แล้วสักพักมันจะมีเสียงจังหวะที่สองดังตามมา สมมุติว่าเป็น แต่ แต ตี แต๊ แล้วอีกสักพักมันจะไปขั้นตอนที่ 3 ครับ
3. มันจะมีเสียงดังรัว ๆ ละครับที่นี้ บอกไม่ถูกครับ แต่เป็นเสียงรัว ๆ เร็ว ๆ น่ะครับ ตรี๊ ตริด ตรี๊ ตริด ตรี๊ตริด อะไรทำนองเนี้ยแหละ สักพักเสียงจะหยุดไป
4. จะมีเสียงดังรัว ๆ เหมือนกันเปี๊ยบกับขั้นที่ 3 ตอนนี้ให้เราโยก สติ๊กคันเร่งลงมาที่ตำแหน่งล่างสุดครับ จะมีเสียงดังรัว ๆ เหมือนกันเปี๊ยบกับขั้นที่ 3
5. สักพักมันจะมีเสียง ติ๊ด… เว้นช่วง… ติ๊ด …. อย่างนี้ 5 ครั้งครับ แสดงว่าตอนนี้ Speed พร้อมที่จะรับค่าของโปรแกรมที่ 1 แล้วครับ ก่อนที่ เสียงติ๊ด จะดังครบ 5 ครั้งเราต้องโยก คันเร่งมาไว้ตำแหน่งที่เราต้องการตั้งครับ จากตัวอย่างที่เรากำหนดไว้เราต้องการให้ค่าแรกคือค่า Break เป็น No ใช่ไหมครับ? ดังนั้นก่อนที่เสียงติ๊ดจะดังครบ 5 ครั้ง เราต้องโยกสติ๊กมาไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดครับ แล้วก็รอครับ เมื่อเสียง ติ๊ด มันดังครบ 5 ครั้งแล้ว ก็จะมีเสียง รัวขึ้นมาอีก แสดงว่า Speed มันรับค่าที่ 1 ไปเรียบร้อยแล้ว และ ก้าวไปสู่การตั้งค่าที่ 2 ต่อไป
6. จะมีเสียง ติ๊ด ติ๊ด… เว้นช่วง … ติ๊ด ติ๊ด … 5 ครั้งเหมือนกันครับ แสดงว่า Speed พร้อมที่จะรับค่าที่ 2 แล้วครับ
เช่น กัน ก่อนที่มันจะดังครบ 5 ครั้งเราต้องโยก Stick มายังตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ ในที่นี้คือตำแหน่ง กึ่งกลาง (Mid timing) แล้วทิ้งไว้ จนเสียงรัวดังขึ้น
7. จะมีเสียง ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด เว้นช่วง … ติ๊ด ติ๊ด ติ๊ด… 5 ครั้งเหมือนกันครับ แสดงว่า Speed พร้อมที่จะรับค่าที่ 3 แล้วครับ
ก่อน ที่มันจะดังครบ 5 ครั้งเราต้องโยก Stick มายังตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ ในที่นี้คือตำแหน่ง สูงสุด (60% – High discharge) แล้วทิ้งไว้ จนเสียงรัวดังขึ้น
8. หลังเสียงรัวจบ เราต้องโยก Stick มาไว้ตำแหน่งล่างสุดเป็นการสิ้นสุดการ Setup ครับ
หลังจากนั้นก็บินได้ตามปรกติครับ ถ้าเอาชัวร์ ก็ถอดถ่านออก แล้วเสียบใหม่ก็ได้ครับ
* ในระหว่างการ Setup ถ้าเราเกิดงง ว่ามันถึงขั้นตอนไหนแล้ว หรือเกิดการผิดพลาด ให้ดึง Batt ออก แล้วทำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ใหม่ครับ *
หวังว่าคงช่วยได้นะครับ ^^
ขอสอบถามว่าในวิทยุ 6EXHP ปุ่มดังต่อไปนี้ไว้ทำอะไรครับ
1 สวิทช์ Idle – up switch
2.สวิทช์ Gyro/CH.5
3.สวิทช์ Throttle hold switch
4.สวิทช์ Aileron , Eleveator $ Rudder dual rate switch
หากเป็นไปได้จะสามารถยกตัวอย่างให้ทราบด้วยจะดีมากคร ับ
1. Idle-up ใช้เวลาที่จะต้องการเปลี่ยน mode จากการบินธรรมดา(Normal mode) ไปเป็นแบบ บิน 3D ครับ ปรกติจะอยู่ที่ Normal ครับ
2. Gyro/CH.5 ใช้ในการตั้งระดับการตอบสนองของ Gyro ควบคุมหางครับ จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ Gyro ที่ใช้อยู่นั้นมีสาย Gain ที่ใช้ในการควบคุมมาต่ออยู่กับ CH.5 ของ Receive ครับ เช่นอาจจะตั้งการตอบสนองคือ เมื่อโยกสวิทซ์ขึ้น Gyro gain=50% , เมื่อโยกลงให้ Gyro gain=40%
3. Throttle hold มีไว้สำหรับตัดการทำงานของ Motor ครับ ใช้สำหรับทำ Auto rotation หรือไม่ต้องการให้ Motor ทำงานครับ สำหรับผม เมื่อนำ ฮ. ลงเมื่อไร ก็สับ Hold ตลอดครับ เพื่อความปลอดภัย
4. dual rate switch ทั้งหลายใช้ในการตั้งการเคลื่อนที่ของ Servo ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ครับ ช่วยให้การบังคับมีความง่ายและนุ่มนวลขึ้นครับ เช่นถ้าเราตั้งให้ตำแหน่ง Rudder dual rate switch ให้สับขึ้นบนเป็น 100% และ โยกลงล่างเป็น 80% หมายความว่า ถ้า สวิทซ์อยู่ตำแหน่งแรก เมื่อเราโยกสติ๊ก Rudder สุด Servo มันจะเลื่อนแขนไปจนสุด แต่ถ้าเรารู้สึกว่าหางมันหมุนติ้ว ๆ ไวไปควบคุมยาก เราก็อาจจะสับสวิทซ์มาที่ตำแหน่งล่าง ซึ่งหมายความว่าเมื่อเราโยกสติ๊ก Rudder สุด Servo มันจะเลื่อนไปแค่ 80% ของค่าที่มันสามารถเลื่อนได้สุด ซึ่งก็จะทำให้หางหมุนช้าลงด้วย
Switch ต่าง ๆ จะมีผลก็ต่อเมื่อเราเข้าไปตั้งค่าในวิทยุไว้แล้วนะคร ับ
N-TH (ใน 6exhp) = Throttle – Curve(ที่อธิบายใช่ไหมครับ)
N-PI (ใน 6exhp) = Pitch – Curve (ที่อธิบายใช่ไหมครับ)
และ I-TH,I-PI ,REVO มันมีไว้ทำอะไรครับ
และ ปกติสวิตต่างๆถ้าอยู่ค่าปกติต้องอยู่ยังไงครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
N-TH = Normal Throttle (ใช้สำหรับตั้งค่า Throttle Curve ใน mode Normal)
N-PI = Normal Pitch (ใช้สำหรับตั้งค่า Pitch Curve ใน mode Normal)
I-TH = Idle Throttle (ใช้สำหรับตั้งค่า Throttle Curve ใน mode Idle)
I-PI = Idle Pitch (ใช้สำหรับตั้งค่า Pitch Curve ใน mode Idle)
ส่วนมากเรา จะ Setup ค่าในส่วนของ Normal ไว้สำหรับบินแบบปรกติ
และ ตั้งค่าในส่วนของ Idle ไว้สำหรับการบิน 3D
เมื่อ มีการ Set ค่าในส่วนของ Idle ก็จะมีผลทำให้ Switch โยกทางด้านซ้ายมือ(ที่อยู่ทางขอบของวิทยุน่ะ ไม่ใช่ตัวที่อยู่เหนือคันเร่งนะ) ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกค่าของ Th Curve และ Pi Curve ว่าวิทยุจะนำค่าในส่วนใดมาใช้งาน โดยปรกติถ้า Switch อยู่ที่ตำแหน่งโยกลง วิทยุจะเอาค่า N-TH และ N-PI มาใช้
ถ้าโยกขึ้นก็จะเอาค่าที่ตั้งไว้ใน I-TH และ I-PI มาใช้งาน
Revo mix ใช้สำหรับตั้งค่าการตอบสนองของหางในขณะที่คันเร่งอยู ่ในตำแหน่ง ต่าง ๆ
(จะ กำหนดไว้คร่าว ๆ คือ 0%,25%,50%,75%,100%) จะเปิดใช้งานเมื่อใช้ Gyro ที่ไม่ใช่แบบ Heading Lock ถ้าใช้ Gyro ที่มี Heading Lock ให้ปิด Revo ไปเลย (ตั้งเป็น INH)
สวิทซ์สองตัวที่อยู่ที่ขอบของวิทยุ(Idle switch กับ Hold switch ปรกติจะอยู่ตำแหน่งผลักลง
ส่วน อีก 2 ตัวที่อยู่เหนือสติ๊กทั้ง 2 ข้าง ก็ขึ้นอยู่กับค่าที่เราตั้งไว้ใน D/R หรือ Gyro Gain ถ้าไม่มีการตั้งค่าใน Menu D/R หรือ Gyro Gain โยกอยู่ตำแหน่งไหนก็ไม่แตกต่างครับ
มารู้จักคำว่า “Cyclic” กัน…
คำว่า Cyclic คืออะไรในวงการ Helicopter หลายคนเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร? และเกี่ยวข้องกับการบินของ Helicopter อย่างไร..
หลายท่านที่เริ่มเข้าใจระบบของ ฮ.บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดของการปรับ Set Cyclic ซึ่งจะมีผลอย่างมากกับการบิน โดยเฉพาะท่านที่กำลังเริ่มบินแบบ Stunt หรือที่เรียกว่า การบินแบบ 3D
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการบินแบบใดก็ตาม การ Setup Cyclic ให้กับ ฮ.ของท่านให้อยู่ในค่าที่เหมาะสมก็จะเป็นการปรับแต่งชุด Head ฮ.ของท่านให้บินเข้ามือหรือบินได้แบบใจต้องการ ซึ่งจะมีทั้งปรับให้นิ่มนวลมากขึ้นสำหรับการบินแบบสเกล หรือ กระชับติดมือในแบบ 3D การปรับ Set cyclic คือที่มาของการปรับแต่งให้ ฮ.ของเราเป็นไปตามที่ใจเราต้องการนั่นเอง…
เริ่มต้นขั้นตอนแรกจากการปรับ Picth ใบพัดหลักก่อน
ซึ่งในที่นี้จะขอพูดข้ามการปรับค่ากลางให้เป็น 0 ไปเพราะสามารถกลับไปค้นหาวิธีการปรับ Pitch Cuvrse ในหัวข้อที่ผ่านมา ซึ่งได้จัดทำไว้แล้ว
ดัน Stick ขึ้นสุด
ปรับค่าการตั้ง Pitch ในโหมด Swash Mix หากเป็นวิทยุ JR แต่ถ้าหากเป็นวิทยุ Futaba ให้ปรับในโหมดของ Swash AFR แล้วตั้งค่าให้ได้องศาของใบพัดหลักตามต้องการ (ในภาพผมปรับองศา +14สำหรับ 700E)
และในทางตรงกันข้ามกด Stickลงสุดเพื่อที่เราจะต้องตั้งค่า Pitch ลบให้เท่ากับ Pitch บวก ซึ่งตามหลักการแล้ว หากการตั้งค่ากลางเป็น 0 จริงๆและแขน Servo ตั้งฉากจริง Pitch ทั้งบวกและลบจะต้องเท่ากัน
เมื่อเราปรับตั้งองศาของใบพัดหลักเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว…เราก็จะ เข้าสู่ขั้นตอนการปรับตั้งองศาของ Cyclic เพื่อให้องศาของใบแก้เอียงหรือที่เรียกว่า ใบ Paddle ทั้งด้าน Aileron และ Elevator มีองศาที่เท่ากัน ขั้นตอนนี้สำหรับ ฮ.ระบบ Flybar แต่ในภาพที่แสดงจะเป็นการตั้งองศาของระบบ Flybarless ซึ่งโดยหลักการแล้วจะไม่ต่างกันมากนัก จุดที่แตกต่างกันก็คือ ทางด้าน Machnic ของชุด Head ที่ระบบ Flybar จะตั้ง Cyclic เกิน 10 องศาไม่ค่อยได้ เนื่องมาจากการขัดตัวหรือเบียดกันของชุด Swash link กับชุด Seesaw control flybar arm หากผู้ตั้งไม่รู้ว่าเบียดกัน ในขณะบินและเปิด Pitch สุด Swash link จะหลุดทันที เพราะฉะนั้นการ Check ว่าองศา Cyclic เบียดกันหรือไม่ วิธีการ ให้โยก stick ด้านขวามือให้สุดในทุกด้าน และ stick ด้านซ้ายมือให้ดันขึ้นสุดหรือลงสุดก็ได้ หากมีการเบียดกันเราจะมองเห็นได้ทันที…
แต่อย่างไรก็ตาม ในการเบียดตัวกันของชุด link ดังกล่าว หากผู้เล่นใช้วิทยุของ Futaba รุ่น T8FG หรือ รุ่น 14MZ และ 18MZ ก็สามารถปรับแก้อาการเบียดตัวกันของชุด Swash link ได้และยังสามารถที่จะปรับแก้อาการ การเอียงตัวของชุด Swashplate เมื่อเวลาที่ขึ้นสุดและลงสุดได้อีกด้วย ผู้เล่นบ้างท่านอาจจะไม่ทราบว่า เมื่อเราตั้งค่ากลางได้แล้วถึงแม้ว่าเราจะใช้ Swash Level ก็ตามแต่เมื่อเราดัน Swashplate ขึ้นสุดหรือลงสุด Swashplate จะมีการเอียงตัวเล็กน้อย และนั่นทำให้ ฮ.หลุดตำแหน่งในขณะบิน(ไม่ได้เป็นทุกลำ แต่ส่วนใหญ่จะเอียงทั้งนั้น) ในโหมด Swash link ของ Futaba สามารถเข้าไปปรับจุดสูงสุดและต่ำสุดเพื่อให้ขนานกันได้…เพื่อทำให้การบิน มีเสถียรภาพคงที่ตลอดการบิน
มาเริ่มที่ด้าน Aileron ก่อน….
Stick ด้านซ้ายมือให้อยู่ตรงกลาง Stick ด้านขวามือ โยกไปทางด้านขวาสุด และการวางตำแหน่งของใบพัดหลัก ให้จัดวางไปตามความยาวของตัวลำ ตามภาพ
จากนั้นให้ปรับค่าองศาแก้เอียง ในโหมดของ Swash Mix ในตำแหน่งของ Aileron ให้ได้ 8-10 องศา(เป็นตำแหน่งที่ไม่มากไปและไม่น้อยไป)
ต่อไปเป็นการปรับทางด้าน Elevator..
Stick ด้านซ้ายมือให้อยู่ตรงกลาง Stick ด้านขวามือ โยกไปทางด้านบนสุด และการวางตำแหน่งของใบพัดหลัก ให้จัดวางขวางตัวลำของ ฮ. ตามภาพ
จากนั้นให้ปรับค่าองศาแก้เอียง ในโหมดของ Swash Mix ในตำแหน่งของ Elevator ให้ได้ 8-10 องศา(เป็นตำแหน่งที่ไม่มากไปและไม่น้อยไป)
การปรับองศา Cyclic ให้เท่ากันนั้น ค่าตัวเลขในโหมดของ Swash mix ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน และโดยส่วนใหญ่ก็จะไม่เท่ากัน ที่ผ่านมาผู้คนส่วนใหญ่มักจะใช้ความเคยชินจากการจดจำที่ผิดว่า ค่า Aile กับ Elev ให้ปรับเท่ากันไว้ก่อน ปัญหาที่จะตามมาหากองศาทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน..จะมีผลต่อท่าบิน Kaos เป็นอย่างมาก เพราะเวลาผู้เล่น ปั่น Stick Cyclic เป็น วงกลมแต่ ฮ.ไม่ยอมเข้าท่า..และนี่คือสาเหตุของการปรับตั้ง cyclic ไม่เท่ากัน…
ความแตกต่างของระบบ Flybar Paddle และ Flybarless จะมีจุดแตกต่างและข้อดีของด้อย ดังนี้…
ระบบ Flybar
ข้อดี..
– มีความเป็นธรรมชาติของวงจร cyclic การพลิกตัวของ ฮ.จะขึ้นอยู่กับความชำนาญและมือของผู้เล่นอย่างแท้จริง
– ไม่มีภาวะความเสี่ยงในการร่วงหล่น เพราะไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์อิเลคทรอนิค เพราะไม่มีโอกาส error electronic.
ข้อเสีย
– การพลิกตัวของ ฮ.กินวงกว้างเนื่องจากการปรับองศา cyclic ได้ไม่เกิน 10 องศาเท่านั้น
– มี Load ในชุด Head มากกว่าระบบ Flybarless
ระบบ Flybarless
ข้อดี..
– องศา cyclic สามารถปรับตั้งได้เท่ากับองศาของ pitch ใบพัดหลัก หรือ ได้มากกว่า 10 องศา
– วงการพลิกตัวแคบมากกว่ามาก
– ได้กำลังมากขึ้น เพราะ Load ในชุด Head น้อยลง
ข้อเสีย
– มีโอกาสร่วงหล่นได้มากโดยไม่ทราบสาเหตุ(เป็น % ที่น้อยในปัจจุบันเพราะมีการพัฒนามากขึ้น แต่ก็มีโอกาส)เพราะต้องพึ่งพาอุปกรณ์อิเลคทรอนิคที่มาทดแทนระบบ Flybar
– แพง….แพง…ถึงแพงมาก…ในบางยี่ห้อ…เลือกให้ตรงกับใจ และ เล่นให้สนุก อย่าไปเครียดครับ…ผมเองก็เล่น FBL…
คัดมาจาก RCTHAI.NET
SET หาง helicopter
มาเข้าใจความหมายของคำว่า Nor (Normal) ที่จะซ้ำซ้อนกันในเนื้อหานี้
Nor Flight โหมดการบินปกติ ปรับที่เครื่องส่ง เช่น Nor/Idle1-2-3
Nor Gyro การเปิดระบบเจโรเป็น Nor/Avcs ปรับที่เครื่องส่ง (ปรับที่เจโรได้ ในบางรุ่น เช่น Gy502 601 611)
Nor/Rev ที่เกี่ยวข้องกันมี 2 อย่างคือ
-nor/rev ch(เซอร์โว)
-nor/rev gyro(ให้เซ็นเซอร์เจโรกันหางถูกด้าน)
Neutral positionในเรื่องนี้มี 2 ความหมาย
1.หมายถึงตำแหน่งอยู่กลาง = Center จะใช้กับตำแหน่ง สติก ทริม อาร์ม เป็นต้น
2.เป็นกลาง ไม่เป็นกรด/ด่าง ไม่แก่/อ่อน (ตอนฮ็อบ ฮ. ก็หมายถึง หางนิ่งไม่ไหลซ้าย/ขวา)
รูปแบบการปรับเซ็ทหางได้ 2 รูปแบบ
A. แบบพิทหางเป็น 0 องศา (ปัจจุบันใช้แบบนี้กันมาก)
B. แบบเปิดพิทหาง Rudder Neutral position
A.รูปแบบการตั้งพิทหางเป็น 0 องศา หรือชุดสไลด์หางอยู่ประมาณกลาง ใช้ได้กับเจโรทุกรุ่น ปรับเซ็ตง่าย สำหรับการบินด้วยเจโรเป็น AVCS เพียงอย่างเดียวในทุกโหมดการบิน ข้อสำคัญคือห้ามปรับ Trim / Subtrim /Offset ช่องรัดเดอร์ทุกกรณีและปิด Revo Mix ด้วย (แต่ Subtrim รู้สึกว่าทำได้)
1.ในขั้นตอนปรับเซ็ต ที่เครื่องส่งวิทยุฟังก์ชั่น Gyro sense ควรตั้งให้เจโรให้เป็น Nor ที่ด้านหนึ่งของสวิตช์ก่อน คือ
– 6EX ค่าบวกเป็น Avcs 0 เป็นค่ากลาง ค่าลบเป็นNor ใช้สวิตช์ ch5
-7c 9c 10c หากตั้งเป็น GY เหมือนกับ 6EX แต่จะปรากฏ A/N หรือ Avcs/Nor แทนเครื่องหมายบวก/ลบ หากตั้งเป็น STD การตั้งค่าจะเหมือนวิทยุ JR คือ 0-49% เป็น Nor 50%เป็นค่ากลาง 51-100%เป็น Avcs
2.Rev ch(เซอร์โวหาง)ที่เครื่องส่ง ให้ถูกด้าน โดยสติกรัดเดอร์ไปด้านไหน พิทหางต้องเปิดไปด้านนั้น ก่อนทำข้อนี้ให้ตรวจดูความลื่นของกลไกหางด้วย (แก้ไขให้ลื่นจริงๆ แตะเบาก็ไปแล้ว)
3.ระหว่าง ที่เจโรเป็น Nor เซอร์โวหางจะอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อ ฮ.หยุดเคลื่อนไหว หรือปล่อยสติกหาง ให้หาร่องอาร์มเซอร์โวหางให้ได้ฉากกับลวดบังคับหาง อาร์มช่วงกลางก็ให้ได้ฉากด้วย
(สำหรับเจโรฟูตาบ้า ในโหมดเจโรเป็น Avcs เราจะให้เซอร์โวกับตำแหน่งเดิมได้ ด้วยการโยกสติกรัดเดอร์ซ้ายขวาเร็วๆ ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง แล้วปล่อยสติก เซอร์โวจะกลับตำแหน่งเดิม)
4.ระยะรูอาร์มที่จะใช้เอาตามคู่มือแต่ละอย่างว่าไปก่อน เช่น
-เจโร Futaba ใช้ระยะรูอาร์ม 7.5 มม.สำหรับ ฮ.500 ลงมา และ 13.5 มม.สำหรับ ฮ.600 ขึ้นไป
-เจโร Align ใช้ระยะรูอาร์ม 4.5 มม. กับ 10 มม.ตามลำดับ เจโรรุ่นอื่นก็เปรียบเทียบทดลองเอา
– ระยะรูอาร์ม จะมาก/น้อยกว่าที่คู่มือกำหนดก็ได้ ต้องดูปัจจัยอื่นๆด้วย แต่ควรให้สามารถตั้งค่า Limit ได้มากๆ เกือบ 100% ก็ดี (หรือต้องโยกสติกรัดเดอร์ได้เกือบสุด เพื่อตั้งค่า Limit สำหรับเจโรเช่น GP750 GY520 เป็นต้น) หากใช้ระยะอาร์มยาวขึ้น ต้องลดค่า Gain ลง หากใช้อาร์มสั้นลง สามารถเพิ่มค่า Gain ได้
5.ตั้ง ลิ้งค์พิทหางที่ 0 องศา หรือชุดสไลด์อยู่กลาง โดยปรับค่า Limit พร้อมไปด้วย ให้ชุดสไลด์หางเกือบสุดทั้งสองด้านเท่ากัน เจโรที่ตั้งค่า Limit แยกซ้าย/ขวาได้ ควรตั้งค่าเท่ากันด้วย (ยกเว้นเจโรเช่น GP750 GY520 ต้องใช้วิธีเล็งหรือวัดให้อยู่ตำแหน่งกลาง)
8. ตรวจสอบการกันหาง ในโหมดเจโรเป็น AVCS จะชัดเจนมาก คือจับหาง ฮ.โยกไปด้านไหน พิทหางจะเปิดต้านไปด้านนั้น
9.ข้อควรระวัง
9.1 ตัวเซ็นเซอร์เจโรที่วางบนแท่นด้านหน้า T-Rex600 ใกล้เซอร์โว โดยเฉพาะที่เป็นเซอร์โวดิจิตอล หากเจโรมีอาการเพี้ยนๆ ให้ทดสอบหาแผ่นโลหะเหล็ก ขนาดเท่าเซ็นเซอร์มารองขั้น หากไม่หายให้ทดสอบย้ายตำแหน่งเซ็นเซอร์
9.2 ชุดลูกปืนและน็อตแหวนในกริปเบรดหาง ให้ลองดึงกริปเบรดหาง ออกพร้อมกันแรงๆ แล้วหมุนดูว่าฝืดหรือติดขัดหรือไม่ (ปิดไฟภาครับก่อน) โดยเฉพาะลูกปืนทรัส ที่อาจเป็นรอยเล็กน้อย หรือมีสิ่งสกปรก หรือเศษน้ำยาล็อดเกลียว (เรื่องนี้หลายคนเจอมาแล้ว ตอนบินมีอาการแปลกๆ แต่ลงมาดูที่พื้นก็ปกติ)
ก็จบขั้นตอน ปิด-เปิดใหม่บินได้เลย
1. สามารถปรับ Trim ช่องรัดเดอร์ที่เครื่องส่งได้ ในโหมดเจโรเป็น Nor เฉพาะเจโร Futaba เท่านั้น คือฮ็อบ ฮ.แล้วปรับลิ้งค์จนหางเกือบได้ที่แล้ว ยังทริมรัดเดอร์ช่วยจน นิ่งอีกได้ แต่วิธีนี้จะต้อง Re-read method คือโยกสวิตช์ สลับโหมดเจโรระหว่าง Avcs กับ Nor เร็วๆไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง และให้สวิตช์หยุดที่ตำแหน่ง Avcs เจโรก็จะบันทึกค่ากลางตำแหน่งทริมใหม่
ตามข้อนี้สามารถเปิดฟังก์ชั่น Revo Mix เพื่อบินด้วยเจโรเป็น Nor ที่สวิตช์เช่น Idle2 เป็นต้น ส่วนโหมดการบินอื่นๆตั้งเจโรเป็น Avcs บินปกติ
อย่าลืมว่าเปิดวิทยุต้องเริ่มจากเจโรเป็น Avcs เสมอ
2.วิธีย่อยข้อนี้คือห้ามปรับ Trim ช่องรัดเดอร์ทุกกรณี สำหรับเจโรยี่ห้ออื่นๆ คือ หลังจากปรับลิ้งค์หางจนนิ่งแล้ว ก็ตั้งค่าให้เจโรเป็น Avcs ทั้งหมด ปิด-เปิดใหม่ ก็บินได้ทันที ข้อเสียคือการตั้งค่า Limit โดยเฉพาะ GY401 G770T หรือเจโรที่ตั้ง Limit แยกไม่ได้ รัดเดอร์ด้านซ้ายไปได้ไม่เต็มที่ แต่ก็บินได้ วิธีย่อยข้อนี้ ก็รวมถึงเจโรฟูตาบ้าด้วย เพียงแต่ไม่ต้อง Re-read method เพราะไม่ได้ทริมรัดเดอร์
(นอกจาก 6EX ) ในฟังก์ชั่น Gyro Sense ในวิทยุรุ่นอื่น ให้กำหนดสวิทช์เจโร เป็น Cond ตามโหมดการบินเลย ส่วนวิทยุ JR ลงตัวอยู่แล้ว
ก็จบเรื่องการเซ็ตหางทั้งสองรูปแบบตามข้อ A และ B
Set Heli-CCPM ฉบับพื้นบ้าน
หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างแล้ว
1. เครื่องส่ง Reset Data หรือ Para Reset เพื่อให้ทุกอย่างกลับคืนค่ากลางของโรงงาน (หรือเลือก Modle ที่ยังไม่ได้ใช้) จากนั้นเลือก SwashplateType เป็น 3S /HR-3 /SR-3 =(120) หรือ SR-3S /H-3=(140) ก่อนจะตั้งชื่อ Modle หรือปรับตั้งฟังก์ชั่นอื่น Low/Hi Pit สไลด์ตั้งปิดก่อน Hover Pit/Thro ถ้าจะใช้ หมุนปุ่มให้อยู่กลางทั้งคู่
2. เสียบเฉพาะเซอร์โวยกพิท 3 ตัวให้ถูกช่องตามยี่ห้อวิทยุ เปิดเครื่องส่ง-ภาครับ ส่วน ฮ.ไฟฟ้าให้ตัดมอเตอร์ก่อน
3. ตรวจสอบทิศทาง Swashplate ตามลำดับดังนี้
3.1 โยกสติก Aileron ดูเซอร์โวคู่ Ail /Pit ตัวไหนทิศทางผิด ให้ Reverse Ch ที่เครื่องส่ง หรือถ้าผิดทั้งคู่ ให้กลับค่า +-A ใน Swash AFR
3.2 โยกสติก Elevator ดูเซอร์โว Ele (Reverse) ให้ทิศทางตรงข้ามกับคู่ Ali/Pit ไม่ต้องสนใจว่า Swash เอียงไปหน้าหรือหลัง (อย่าไป Reverse เซอร์โวคู่ Ali/Pit ซ้ำซ้อนอีก) ถ้าSwash เอียงถูกด้านก็จบไป ถ้าผิดด้านก็ให้ไปกลับค่า +-E ใน Swash AFR
3.3โยกสติกเครื่องไปหน้า-หลัง หาก Swash ขึ้น-ลง กลับด้าน ให้กลับค่า +-P ใน Swash AFR
4. ตั้งสติกเครื่องไว้ตรงกลาง (ดูกราฟด้วยก็จะแม่นขึ้น) อาร์มเซอร์โวยกพิททั้ง 3 ให้หมุนหาร่องอาร์มที่ได้ฉากกับเมนชาร์ปสำหรับ ฮ.เล็ก ส่วน ฮ.ใหญ่ ดูตามทิศทางของอาร์ม Pull-Put ต้องวัดดับเบิลลิงค์ให้เท่ากันด้วย ใช้ Subtrim หากอาร์มแต่ละตัวยังไม่ตรงตำแหน่ง (ตามภาพ)
หาก หลีกเลี่ยงไม่ใช้ Subtrim จะดีที่สุด เนื่องจากเมื่อ Subtrim ช่องใดแล้ว จะทำให้เซอร์โวด้านที่ถูกSubtrim เคลื่อนที่ได้น้อยกว่าเซอร์โวตัวอื่น(เมื่อขยาย D/R หรือ ATVมากๆ) อาจต้องเพิ่ม ATV ด้านหนึ่งสำหรับเซอร์แต่ละตัว(เมื่อใช้ตัวตั้ง Swashplate จะเห็นได้ชัด)……..และหากใช้ Subtrim กับเซอร์โวยกพิททั้งสามตัวค่าเท่าๆกัน ก็จะทำให้เมนเบรด เปิดพิทบวก/ลบไม่เท่ากัน (แต่ก็แก้ไขได้ด้วยกราฟพิท หรือATVของเซอร์โวยกพิททั้งสาม หรือใช้ฟังก์ชั่น Low/High Pit)
5.1 ใส่อาร์มเซอร์โวคู่ Ail/Pit ให้ปลายอาร์มทั้งสอง เลยจุดกลางไปอย่างละด้าน จากนั้นทริมเครื่องส่งที่ Ali ซ้าย-ขวาให้อาร์มทั้งสองตรงกัน ไม่ต้องสนใจว่าตรงตำแหน่งกลางหรือยัง
5.2 ใส่อาร์มเซอร์โว Ele ให้ปลายอาร์ม เลยจุดกลางไปตรงข้ามกับอาร์มคู่ Ail/Pit จากนั้นทริมเครื่องส่งที่ Ele หน้า-หลัง ให้อาร์มทั้งสาม อยู่ตำแหน่งเท่ากัน ถ้าโชคดีก็ตรงกลาง ถ้าไม่ตรง ขึ้น-ลงนิดหน่อยก็ต้องยอม(ภาพที่ 1 และ 2)
6. ปรับลิ้งค์ 3 ขาให้ Swashplate ได้แนวระนาบทุกด้าน ถ้ามีตัวตั้ง Swash ก็จะเล็งง่ายหน่อย สำหรับ ฮ.ที่ใช้ Ele รุ่น A-arm ก็ปรับลิ้งค์คู่ Ail/Pit ตามได้เลย
7. ระดับ Swashplate อยู่ประมาณกลาง ต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น รุ่นใช้ A-arm ก็ตามนั้น … ส่วน T-Rex 450 Pro ลิ้งค์คู่ Flybar arm ปรับไม่ได้ ต้องปรับ Swashplate ขึ้น-ลง จน Washout arm ได้ฉากกับเมนชาร์ปหรืออยู่แนวระนาบ ….
8. ฮ.รุ่นอื่นก็ปรับที่ลิ้งค์คู่ Flybar arm (วัดลิ้งค์ต้องเท่ากัน) ให้ Washout arm อยู่แนวระนาบ สังเกตุได้จากให้น็อตที่อยู่ปลายอาร์มตรงกัน
9.1 ห้ามเล็งกับชุด Flybar arm เด็ดขาด อย่าง T-Rex กรอบสี่เหลี่ยมทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ มักจะบิดตัว หาทางเล็งกับอย่างอื่นเช่น ขอบน็อตล็อคกริปเบรด หรือให้ได้ฉากกับเมนชาร์ป (ตามภาพบน)
9.2 เวลาเล็ง Paddle น้ำหนักของพิจเกจ มักเป็นปัญหา ให้ใช้นิ้วมือรองอยู่ประมาณกลางๆใบแล้วค่อยเล็ง เนื่องจากชุด Flybar ทั้งระบบ มีระยะฟรีเล็กน้อย (ตามภาพกลาง)
9.3 ตอนขันน็อตตัวหนอน ของใบ Paddle อาจทำให้ใบเคลื่อนโดยไม่รู้ตัว เล็งให้ดีครับ
10.Mix arm ให้อยู่แนวระนาบ ปรับลิ้งค์คู่ยาววัดให้เท่ากัน โดยห้ามเล็งกับ ชุด Flybar arm เช่นกัน มันบิดตัวได้ ให้ปลดลิ้งค์คู่ของ Flybar ออกก่อน เพื่อเล็งกับลวด Flybar ที่อยู่แนวระนาบโดยตรง (ตามภาพล่าง)
VIBE กับ N9 ระดับ Mix arm ก็หลักการเดียวกัน
(…เฉพาะ ฮ.T-rex 450 v2 กับ Copter-X มักจะวัดพิทด้านบวก ได้น้อยกว่าด้านลบ (เกี่ยวกับการออกแบบ) ให้จัดระดับ Mix arm ใหม่ ขอบบนด้านสั้นของอาร์ม อยู่แนวระนาบ)
13.ปรับ แต่งกราฟเครื่อง/มอเตอร์ ตามคู่มือหรือตามใจ ส่วนกราฟพิทนี้ ตั้งเครื่อง Idle บิน 3D ได้เลย หรือปรับใหม่ตามสูตรที่แต่ละคนสรรหามา อย่าลืมเพิ่ม Cyclic ให้เหมาะมือด้วย
14.ค่า D/R Ail กับ Ele ไม่แนะนำให้ตั้ง 2 Rate เคยตกเพราะมือไปโดนสวิทว์ช D/R มาแล้ว ส่วนหางก็ควรเป็นค่าเดียว ผิดมือนิดเดียวไปเลย ค่า EXPO เพิ่มความนิ่มนวลตรงกลางสติกปกติจะตั้งค่าเป็นลบ สำหรับ Futaba …. Jr ก็เป็นค่าบวก วิทยุใครตั้งค่า Delay ได้ก็ตั้งค่า Thro กับ Pit ไว้ 20-30% กัน ฮ.กระชากตอนเปลี่ยนโหมดการบิน
ยังมีอีกเยอะๆเดี๋ยวให้ โปรวิทยามาว่าต่อหน่อย ข้อไหนไม่ใช่หรือไม่พอเสริมเลยครับ แล้วจะได้มาต่อเรื่องการเซ็ตหางแบบเรียงสูตรมาให้เลย
หลักการของ ESC
หลักการของ ESC เกือบทุกยี่ห้อจะคล้ายๆกันหรืออาจจะมีหลักการเดียวกันดังนี้
- ค่า Voltage Cut-off
- ค่า Motor Brake
- ค่า Soft Start
- ค่า Throttle Response
- ค่า Motor Timing.
ค่า Voltage Cut-off.
เป็น ค่ารที่รู้กันในอันดับแรกๆเป็นค่าการตัดการทำงานของมอเตอร์ที่แรงดันของ Bat ที่ถูกใช้จนลดลงถึงจุดที่ไม่ก่อความเสียหายต่อ Battery โดยเฉพาะ Bat Lipo หากมีการใช้แรงดันจนเกินจากที่กำหนด เช่น ต่ำกว่า 3 V/Cell มอเตอร์ก็จะตัดการทำงานหรือค่อยๆลดกำลังมอเตอร์ลงเพื่อ Safe Battery.
ค่า Motor Brake
เป็น ค่าที่ใช้การเปิด-ปิดโหมดการหยุดของมอเตอร์เมื่อลดคันเร่งจนสุด การหยุดของมอเตอร์จะใช้งานกับเครื่องบินเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อลดการหมุนของใบที่จะเป็นการต้านลมจากแรงลมที่ปะทะเวลาบินร่อน สำหรับ ฮ.จะไม่ใช้โหมดนี้ครับ
ค่า Soft Start
เป็น ค่าที่ใช้ลดแรงบิดของมอเตอร์ในขณะที่ Start โดยปกติมอเตอร์ที่ใช้กับ ฮ.จะมีค่า KV ของมอเตอร์ที่สูง เมื่อเริ่ม Start ก็จะเกิดแรงบิดสูงซึ่งอาจจะกระชากจนเกิดความเสียหายกับระบบเกียร์ได้ โหมด Soft Start จึงเป็นตัวทำหน้าที่หน่วงแรงบิดให้กับมอเตอร์จนถึงรอบใช้งานจริงตามที่ต้อง การ
ค่า Throttle Response
เป็น ค่าการหน่วงอัตราเร่งของมอเตอร์เพื่อป้องกันหาง ฮ.ปัดจากแรงบิดของมอเตอร์เวลาที่เร่งหรือลดเครื่อง ..แต่ถ้าตั้งค่าเอาไว้มากๆก็อาจจะทำให้เร่งรับ ฮ.ไม่ทัน สำหรับค่านี้ต้องปรับให้เหมาะสม หรือประมาณกลางๆของโหมด
ค่า Motor Timing
เป็น ที่จะเรียกเอาประสิทธิภาพของมอเตอร์มาใช้งานได้อย่างเต็มที่ (เหมือนกับการตั้งไฟเครื่องยนต์ของรถยนต์)ต้องเข้าใจโครงสร้างการทำงานของ มอเตอร์ Brushless แต่ละแบบ และรอบการทำงานที่ใช้จึงจะกำหนดได้ โดยกำหนดเป็นองศาการทำงาน ตั้งแต่ 0-30 องศา โดยปกติ 0-5 องศาสำหรับมอเตอร์ Out Runner และ 10-20 องศาสำหรับ In Runner แต่ในปัจจุบัน ESC รุ่นใหม่ๆจะมีโหมด Auto มาให้เรียบร้อยแล้วก็ควรเลือกไปที่โหมด Auto น่าจะดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามก็ควรที่จะศึกษาคู่มือของ ESC แต่ละรุ่นให้ละเอียดเสียก่อน ก่อนทำการ Setup…
จาก web rcthai.net
Trex 450 หาง เหวี่ยง หางสบัด ไม่หยุดนิ่ง
ขอเอาปัญหาแรกมาพูดกันเลย เนื่องด้วย เมื่อไม่นานเอาเครื่องออกไปบิน จริงแล้วผมก็เพิ่งที่จะออกไปบิน เมื่อไม่นานนี่เองครับ หมายถึงบินในเครื่อง คอม มานาน หลายเดือนแล้วก็ฝึก hov อยู่นานจนรู้สึกว่ามั่นใจแล้วก็ฝึกบินเดินทาง ในสภาวะแวดล้อมภายนอก ที่มีสายลมเป็นตัวแปร ฝึกได้สึกพัก อันที่จริงก็ล่วงมาหลายหนแล้วหล่ะครับ ฝึกบิน ยังไงเสียก็ต้องมีล่วง เป็นเรื่องธรรมดา ร่วงแล้วซ่อมแล้วบินได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่สุดแสนจะเป็นเรื่องที่ เท่ซะไม่มี
สุดท้าย ออกบิน เป็นวงกลม วนซ้ายบ้าง วนขวาบ้าง มีจังหว่ะหนึ่ง บินออกไปไกลพอสมควร แล้วมันก็ งง ครับ ไม่รู้ว่าตอนนี้มันหันไปทางไหน ควรจะทำอย่างไร มันก็เลยล่วงครับ
ก็เหมือนทุกครั้ง ครับล่วงได้ก็ซ่อมได้ ไม่มีปัญหา สภาพก็ไม่น่ามีปัญหามากนัก ตามรูป
ก็ซ่อมโน่น ซ่อมนี่ไปนะครับ อันไหนที่ดัดได้ก็ดัด อันไหนที่ต้องเปลี่ยนก็เปลี่ยน กลับมาสภาพสวย ไม่มีอะไรหวี่ยง ไม่มีอะไร เบี้ยว ทดสอบบิน เกิดปัญหาครับ หางเหวี่ยง เหวี่ยงไปเหวี่ยงกลับ อืมคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร พยายามหาจุดที่มีปัญหา แก้แล้วก็ยังไม่ได้ ถึงคลาวต้องเปลี่ยนเอาว่ะ เปลี่ยนอะไรที่คิดว่าจะต้องเปลี่ยน ก็เปลี่ยนนะครับไล่ไปตั้งแต่หัว จดหาง
ก็ยังไม่ได้ หาใน net ครับ เขาบอกว่าอืม ความเร็วรอบอาจไม่ได้ ปลับ throttle curve ให้ความเร็วรอบเพิ่มขึ้นก็ยังไม่ได้ ไอ้โน่น ก็ทำ ไอ้นี่ก็ทำ ก็ยังไม่ได้ เหมือนเดิมเหมือนไม่ได้ทำอะไรเลย สุดท้ายมาเห็นบูมที่หาง ตามรูปครับ
มันอยู่ไม่ตรงตามที่มันควรอยู่ ก็ต้องถอดใบออก ครับแล้วก็ ไขมันกลับไปให้แน่นหนา กลับไปที่ที่ควรจะอยู่ ในใจก็คิดว่ามันคงไม่ใช่ ทำไปงั้น ๆ สุดท้าย ลองเอาไปบินดูเผื่อได้ ไม่น่าเชื่อพระเจ้า หางนิ่งสนิท เป็นเพราะมันนี่เอง ครับ บูมหาง หลวม ถ้าไม่สังเกตจริง ๆ ไม่เห็นเลย พระเจ้าเหมือนยกเขาออกจากอก พรุ่งนี้ พ่อพาไปเล่นลมแต่เช้าเลย ไอ้ลูกลัก ฮะ ฮะ ครับ ใครโชคดีที่ได้อ่านเจอแล้วแก้ไขได้หายละก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ หรือใครมี ปัญหาอื่นมาช่วย แชร์กันหน่อยนะครับ
ขอให้โชคดีกับการบินครั้งต่อไปนะครับ
s_teerapong2000@yahoo.com
iamasimov@aol.com
บอกกล่าวชาว RC
เพื่อน ๆ ครับ หากใครที่เล่น เครื่องบินบังคับวิทยุ Blog นี้จะเป็นที่สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ ตัวผมเองก็เพิ่งจะเข้ามาเล่นได้ไม่นานนะครับ เล่นมาเยอะ พังมาเยอะแล้วก็หยุดที่ Helicopter ครับ มีเพื่อน ๆ หลายคน เป็นเหมือนผม เล่นมาหลายหลยอย่างสุดท้าย ก็มาหยุดที่ Helicopter
ส่วนตัวผมไม่ใช้ชอบ ธรรมดาต้องเรียกว่าหลงไหลเข้าขั้นเลยครับ [ไม่อยากจะพูดคำนี้เลยเพราะผมไม่ใช่เด็ก ๆแล้วครับ กว่าครึ่งคนไปแล้ว] พื้นฐานตัวผมเองชอบ อะไรแบบนี้มาตั้งแต่เด็กแล้วแต่ สมัยนั้นค่อนข้างจะ มั่งมี ไม่มีสิทธิได้เล่นหรอกครับ คือผมพยายามจะบอกว่าผม ไม่ได้ชอบมันเพราะมันเป็นของเล่นที่น่าท้าหทายหลอก ผมหลงไหลในกลไกของมัน มันคือภูมิความรู้ของมนุษยชาติที่สั่งสมมาตั้งแต่เราเริ่มที่จะ คิดค้นเครื่องบินโน้นแหละครับ ซึ่งถามว่า มนุษย์หยุดคิดและพัฒนาต่อไปแล้วหรือยัง มนุษย์ไม่มีวันหยุดคิด และจะมีนวัฒกรรมใหม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ยาวนาน
เอาเป็นว่ากล่าวโดยย่อ blog ผมจะพูดถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่มันเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา ที่หาคำตอบ ยาก ๆ หน่อยครับ ขอย้ำว่า ยากๆ หรือ ไม่มีใครจะพูด เพราะว่าปัญหาที่มีเพื่อน ๆ ช่วยตอบให้เพื่อน ๆ แล้วผมก็จะไม่เขียนให้มันซ้ำอีก
และส่วนใหญ่เราจะเล่นกันก็ ยี่ห้อ T-rex 250 , T-rex 450 , T-rex 500 แพงปานกลาง นะครับ ฮิ ฮิ แต่ใจอะไป สีหมอกแล้ว แต่วาสนาไอ้ลอย คงจะลำบาก หรือห่างไกล มาก มากกกกก
ครับ ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่าน นะครับ
s_teerapong2000@yahoo.com
Teerapong Sontayaman
ผมเป็น สมาชิกอยู่ใน rcthai.net ด้วยนะครับ ซื้อบ้างขายบ้าง ตามประสา
Hello world! OOP . . .
public class Me { string Name; public Me(string name) { Name = name; } public void SayHello() { Console.WriteLine("Hello world !"); Console.WriteLine("I'm " + Name); } public void SaySomethingAboutMyself() { Console.WriteLine("I love programming and OOP"); Console.WriteLine("You can share with me through this Blog - any suggestion is welcome"); } public void Contact() { Console.WriteLine("Email : iamasimov@aol.com "); Console.WriteLine("Or Email : s_teerapong2000@yahoo.com"); //---- } } class Program { static void Main(string[] args) { Me myObject = new Me("Teerapong Sontayaman"); myObject.SayHello(); myObject.SaySomethingAboutMyself(); myObject.Contact(); } }